กระบวนการดำเนินการสู่ความเป็นเลิศ (EDS KU UP) หมวด 1-6

ep1กระบวนการedpexหมวด1-2

ไม่มีชื่อ (594 × 397มม.)

1677137500372

กระบวนการดำเนินการสู่ความเป็นเลิศ  (มีชื่อเรียกว่า EDS KU UP)

1. ร่วมกันรวบรวม แยกประเภท จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (Engagement and Classification of Data: E)

แต่ละฝ่ายร่วมกันรวบรวมนโยบาย เป้าหมาย ทิศทางในอนาคตของมหาวิทยาลัยและของชาติ รวมถึงจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาขององค์กร โดยร่วมกันลำดับความสำคัญของข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์และทบทวนเป้าหมายขององค์กร

2. กำหนดข้อมูลที่สำคัญจำเป็นแล้วนำมาวิเคราะห์นโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง และการบริหารจัดการด้านต่างๆ ขององค์กร (Determining the critical data needed to analyze: D)

วิเคราะห์นโยบาย เป้าหมาย ทิศทางของของสถาบันและองค์กร ในด้านการเรียนการสอนทั้งในระดับก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ จากข้อมูลสำคัญที่กำหนด

ประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ภายในองค์กร 4 ด้าน ได้แก่    ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ จากผู้รับผิดชอบ/ผู้ปฏิบัติงานในด้านนั้นๆ

3. ออกแบบระบบการบริหารงานขององค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable design for corporate management: S)

ร่วมกันระดมความคิด เพื่อกำหนดเป้าหมาย และพัฒนาระบบการบริหารงานภายในองค์กรให้ยั่งยืน รวมทั้งครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ทั้ง 6 หมวด ของ EdPEx ได้แก่ หมวดการนำองค์กร กลยุทธ์ ลูกค้า การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ของบุคลากร และระบบปฏิบัติการ รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การให้บริการ ผู้เรียน บุคลากร กระบวนการทำงาน และระบบการปฏิบัติงานขององค์กร

4. จัดทำแผนปฏิบัติงานจากผลการวิเคราะห์และองค์ความรู้ (Knowledge creative plan)

นำผลการวิเคราะห์และการประเมินในข้อ 3.1 และ 3.2 และระบบการบริหารงานในข้อ 3.3 มาจัดทำแผนปฏิบัติงานขององค์กร โดยเสนอโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กรและสถาบัน และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) โดยเน้นการมีส่วนร่วมตามหลัก ธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

5. นำแผนไปปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Utilization of plan to optimize and results: U)

ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ร่วมกับการใช้วงจรคุณภาพ (Quality cycle techniques, PDCA) โดยเน้นการมีส่วนร่วมการร่วมแรง ร่วมใจ และรวมพลังในการเรียนรู้และปฏิบัติงาน อันนำไปสู่ผลผลิตตามเป้าหมายขององค์กรและผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)

6. กระบวนประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน (Universal evaluation for operations: U)

ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ภายในองค์กรอย่างกัลยาณมิตร รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ เพื่อการพัฒนาการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โดยใช้แนวทางของ coaching และmentoring มีการสะท้อนผลการปฏิบัติงานร่วมกับการสร้างขวัญ กำลังใจ และการเสริมพลัง(Empowerment) แก่บุคลากรทุกคน

7. แบ่งปันความรู้ไปสู่เครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศ (Partnerships and knowledge exchange: P)

แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ จากการพัฒนากระบวนการทำงานที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานและการภายในองค์กร เพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) และนำไปขยายผล เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (MOU) ด้านวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

รับชมวีดีโอกระบวนการดำเนินการสู่ความเป็นเลิศ Click

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *