แผนการขับเคลื่อน edpex

รูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ SCALE UP+ Model

ไม่มีชื่อ (594 × 397มม.)

ดีไซน์ที่ไม่มีชื่อ (13)

1. หลักการ

พัฒนาหลักสูตรและการให้บริการที่ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการ เสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิตและเป็นที่ต้องการของตลาดและสังคม พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้วยหลักธรรมาภิบาล *ค่านิยมขององค์กร และ **ค่านิยมหลัก 11 ประการ ตามเกณฑ์ EdPEx พัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานและระบบการปฏิบัติงาน เพื่อยกระดับองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศทั้งในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการวิชาการ

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ ทักษะ และความคิดที่จะออกไปสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม รวมถึงการเป็นผู้นำระดับต่างๆ ในอนาคต

2.2 เพื่อยกระดับการสร้างผลงานทางวิชาการและนวัตกรรมทางการศึกษาที่โดดเด่นให้ไปสู่ระดับนานาชาติ นำไปสู่การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และเกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการ และการพัฒนาประเทศ

2.3 เพื่อยกระดับการให้บริการวิชาการ ที่สามารถนำไปถ่ายทอดความรู้สู่สังคมในรูปแบบต่างๆ สามารถสร้างสรรค์งานบริการวิชาการให้มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากกลุ่มลูกค้าในระดับต่างๆ สามารถสร้างความประทับใจและสร้างความผูกพันให้กับผู้เรียน และผู้รับบริการ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างมาตรฐานการให้บริการที่เป็นต้นแบบและเป็นนวัตกรรมการบริการที่มีความยั่งยืน

2.4 เพื่อยกระดับระบบการปฏิบัติงานของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ไปสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) และสร้างคุณลักษณะที่ดีให้กับบุคลากรในองค์กร

3. กระบวนการ

ส่วนที่ 1 กระบวนการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา (มีชื่อเรียกว่า SCALE UP)

  1. สังเคราะห์นโยบายและเป้าหมายขององค์กร รวมถึงการประเมินความต้องการจำเป็น (Synthesize school policies and goals including basic need assessment: S)
  2. สร้างและพัฒนาระบบการบริหารงานในองค์กร (Create and develop school administrative system: C) รวบรวมความคิดและจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Accumulate ideas and do the action plans: A)
  3. นำสู่ประสิทธิภาพการผลิตและผลลัพธ์ (Lead to productive performance and outcome: L)
  4. ขยายผลสู่ชุมชนการเรียนรู้ (Expand to professional learning community: E)
  5. ยกระดับระบบการทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Upgrade functional system for sustainable development: Up)

ส่วนที่ 2 กระบวนการดำเนินการสู่ความเป็นเลิศ (มีชื่อเรียกว่า EDS KU UP)

  1. ร่วมกันรวบรวม แยกประเภท จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (Engagement and Classification of Data: E)
  2. กำหนดข้อมูลที่สำคัญจำเป็นแล้วนำมาวิเคราะห์นโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง และการบริหารจัดการด้านต่างๆ ขององค์กร (Determining the critical data needed to analyze: D)
  3. ออกแบบระบบการบริหารงานขององค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable design for corporate management: S)
  4. จัดทำแผนปฏิบัติงานจากผลการวิเคราะห์และองค์ความรู้ (Knowledge creative plan)
  5. นำแผนไปปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Utilization of plan to optimize and results: U)
  6. กระบวนประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน (Universal evaluation for operations: U)
  7. แบ่งปันความรู้ไปสู่เครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศ (Partnerships and knowledge exchange: P)

ส่วนที่ 3 กระบวนการจัดการนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ (มีชื่อเรียกว่า 3IV)

  1. กำหนดกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรม (Innovation Strategy)
  2. สร้างความคิดสร้างสรรค์ (Idea Generation)
  3. การนำไปปฏิบัติ (Idea Implementation)
  4. การประเมินคุณค่า (Value Evaluation)

4. การวัดและประเมินผล

4.1 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต 3 ด้าน คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

4.2 รางวัลที่นิสิตได้รับในระดับชาติและนานาชาติ

4.3 ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียงด้านวิชาการ หรือได้รับการยกย่องด้านคุณธรรมจริยธรรม

4.4 คุณภาพของผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล SCOPUS ควอไทล์ที่ 1 – 4

4.5 รางวัลนักวิจัยดีเด่นในระดับชาติและนานาชาติ

4.6 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยจากองค์กรภายนอก

4.7 ระดับความพึงพอใจ และระดับผูกพันของผู้เรียน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.8 ความสำเร็จโครงการพัฒนาวิชาการที่สามารถส่งมอบได้ตามสัญญา

4.9 ระบบการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) และคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรในองค์กร

5. ปัจจัยสนับสนุน

5.1 ความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย ต่อการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการขององค์กร

5.2 การขับเคลื่อนในระดับนโยบายและการสนับสนุนของผู้บริหาร

5.3 ความพร้อมของทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน

5.4 ความร่วมมือทางวิชาการของสถาบันเครือข่ายและสถาบันการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา

6. ปัจจัยขับเคลื่อนรูปแบบ

6.1 Mindset

6.2 Participation

6.3 Empowerment

6.4 Collaboration